การทอผ้าฝ้ายในประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์ของเราที่ใช้ผ้าเป็นส่วนประกอบ ล้วนเป็นผ้าฝ้ายทอมือโดยช่างฝีมือท้องถิ่นในประเทศไทย ที่การทอผ้ายังคงเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย 

ในอดีตผ้าฝ้ายทอมือนับเป็นสินค้าที่คนทั่วไปส่วนใหญ่ซื้อหาไว้สำหรับตัดชุด ตัดเสื้อผ้าสำหรับโอกาสต่างๅ  ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันไปอย่างสิ้นเชิง ที่คนไทยส่วนใหญ่เลือกซื้อเสื้อผ้าทั้งที่มีแบรนด์และไม่มีแบรนด์จากหน้าร้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์  อุตสาหกรรมเสื้อผ้าส่วนใหญ่มีฐานการผลิตที่ประเทศอินเดีย จีน เวียดนาม จากเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ พื้นที่สำหรับงานผ้าทอมือเหลืออยู่ให้เห็นไม่มากนัก มีเพียงชุนชนเล็กๆ ไม่กี่ชุมชนที่ยังคงรักษางานหัตถกรรมนี้ไว้  ส่วนมากอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภาพที่เราจะได้เห็นคือ ผู้หญิงสูงวัยกำลังนั่งทอผ้าอย่างชำนาญอยู่ที่เรือนชานบ้านของตน ด้วยสีหน้าเปื้อนยิ้ม ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก ส่วนการทอผ้าคืออาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ระหว่างรอเก็บเกี่ยวผลผลิตจากไร่นาที่ได้ลงทุนลงแรงไป

cotton growing thailandต้นฝ้ายที่ปลูกในชุมชน

ฝ้ายที่นำมาใช้ในการทอส่วนใหญ่เป็นฝ้ายที่ปลูกในท้องถิ่นบริเวณใกล้เคียงกับชุมชุนหรือหมู่บ้านของตน กว่าจะเป็นด้ายฝ้าย ต้องผ่านกระบวนการมากมายหลายขั้นตอน ตั้งแต่เก็บดอกฝ้าย หีบเอาเม็ดออก ปั่นฝ้าย ไปจนถึงตีเกลียวเส้นด้ายให้ได้ความหนาและเหนียวตามต้องการ ซึ่งเทคนิคการตีเกลียวนั้นสำคัญมาก ทำให้ได้เนื้อสัมผัสของเส้นด้ายมีความหนาบาง ความแน่นความหลวมต่างกัน เกิดเป็นลักษณะเฉพาะของผ้าแต่ละผืน ผ้าบางผืนมีความเรียบเนียนละเอียด บางผืนมีความสากมือและหนากว่า  ซึ่งผิวสัมผัสของผ้าแต่ละเนื้อเหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้แตกต่างกัน 

เส้นด้ายฝ้ายที่ได้จากการเข็นมือ

การปั่นด้ายฝ้ายมีอยู่ 2 วิธี คือการเข็นมือและการปั่นด้วยเครื่องจักร คุณลักษณะเด่นของด้ายฝ้ายเข็นมือคือ เส้นด้ายจะไม่สม่ำเสมอกันทั้งหมด แต่ด้วยความชำนาญของข่างฝีมือแล้ว สามารถทำให้ด้ายมีความหนาใกล้เคียงกันได้ แต่ก็ยังไม่สามารถเทียบเคียงได้กับเครื่องจักร และด้วยความไม่สม่ำเสมอของเส้นด้ายนี่เองก็เพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ให้กับเนื้อสัมผัสของผ้า งานฝ้ายเข็นมือเป็นงานที่ต้องใช้ทั้งเวลาและความชำนาญ จึงทำให้ปัจจุบันนี้เหลือช่างฝีมือที่ทำงานตรงนี้น้อยลงเรื่อยๆ

การปั่นด้ายฝ้ายด้วยเครื่องทำให้ด้ายแต่ละเส้นมีความหนาสม่ำเสมอกัน

ด้ายฝ้ายที่ปั่นมาจากโรงงานนั้นเป็นฝ้ายที่เกษตรนำดอกฝ้ายของตนไปให้โรงงานหีบเอาเม็ดออกไปจนถึงใช้เครื่องปั่นออกมาเป็นเส้นด้าย ร้านของเรามีทั้งผ้าฝ้ายเข็นมือ ผ้าฝ้ายที่ผ่านการปั่นเส้นด้ายมาจากโรงงาน และผ้าฝ้ายทอมือที่ผสมผสานระหว่างด้ายฝ้ายเข็นมือกับด้ายปั่นโรงงานให้เลือกตามความชอบ และความเหมาะสมของการนำไปแปรรูปทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป ซึ่งการผสมผสานกันระหว่างฝ้ายเข็นมือกันฝ้ายปั่นโรงงานนั้น ทางเครือฝ้ายจะเป็นฝ้ายโรงงาน ส่วนทางพุ่งจะเป็นฝ้ายเข็นมือ เหตุผลหลักๆ ที่ต้องทอด้วยวิธีนี้คือ ฝ้ายเข็นมือจะมีความหนาที่ไม่สม่ำเสมอและเส้นค่อนข้างใหญ่ ในขณะที่ฝ้ายจากโรงงานจะเส้นเล็กและมีความสม่ำเสมอกันมาก จึงง่ายต่อการร้อยเข้าฟืมทอผ้ามากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ร้านเราก็ยังมีผ้าฝ้ายเข็นมือทั้งทางเครือและทางพุ่งจำหน่ายเช่นกัน สำหรับคนที่ชื่นชอบเนื้อสัมผัสของผ้าฝ้ายที่มีความหนานุ่มและหนัก คุณสามารถเห็นถึงความแตกต่างของมันได้ง่ายๆ อย่างเช่นหมอนอิงในลิงค์นี้ this cushion here.

ด้ายฝ้ายเข็นมือที่มีความหนาไม่สม่ำเสมอกัน
มีวิธีมากมายในการออกแบบลวดลายผ้า และข้อดีประการหนึ่งของการทอด้วยมือก็คือ สามารถทอลวดลายที่หลากหลายได้ในจำนวนน้อยๆ เริ่มต้นเพียง 10 เมตรก็สามารถทำได้แล้ว เมื่อเทียบกับการทอผ้าด้วยเครื่องจักรที่จะต้องสั่งทอในปริมาณมาก เป็นร้อยเมตรถึงจะสามารถสั่งทอได้

hand loomกี่ทอผ้าที่นิยมใช้ใช้ประเทศไทย 

เราสามารถสร้างลวดลายผ้าได้โดยการใช้ด้ายสีที่แตกต่างกันที่ทางเครือและทางพุ่ง และยังมีอีกวิธีหนึ่งในการสร้างลวดลายให้กับผ้าโดยไม่ต้องพึ่งสีด้ายที่แตกต่างกัน นั่นคือเทคนิคการทอ โดยใช้วิธีจกด้ายขึ้นบนหรือลงล่าง หรือการทอข้ามเส้ม เพื่อทำให้เกิดเป็นลวดลายในตัวผ้า

ผ้าฝ้ายทอมือมีความหนาและเรียบหรูในตัวมันเอง ทั้งทางด้านเนื้อสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ แต่น่าเสียดายที่กาลเวลาทำให้ความนิยมในงานหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือลดน้อยลงไปมาก ไม่ว่าจะเกิดจากงานดีไซน์ใหม่ๆ ไม่เลือกที่จะใช้ผ้าฝ้ายทอมือมาเป็นส่วนหนึ่งในงานดีไซน์ หรือแม้แต่กระทั่งการตลาดที่ไม่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผ้าฝ้ายทอมือ การ์เด้นออฟสยาม หวังเป็นอีกหนึ่งพลังที่จะส่งเสริมและสนับสนุนผ้าฝ้ายทอมือของไทยให้กลับมามีบทบาทอีกครั้งในสังคมโลก อีกทั้งยังเป็นการสร้างชุมชนเข้มแข็งที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน